วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

อารยธรรมบรูไน


ประเทศบูรไนดารุซาลาม
บรูไน (มาเลย์: Brunei) หรือ เนการาบรูไนดารุสซาลาม (มาเลย์: Negara Brunei Darussalam) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวัก มาเลเซียตะวันออก
 บรูไนเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลัก (ปริมาณการผลิตน้ำมันประมาณ 180,000 บาเรล/วัน)

ธงชาติ
ประวัติ

               บรูไนเป็นที่รู้จักและมีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ การบูร พริกไทย และทองคำ
               หลังจากนั้นบรูไนเสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากสเปน และฮอลันดาได้แผ่อำนาจเข้ามา
จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยอมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ
               ในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) บรูไนสำรวจพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนมีฐานะมั่งคั่งในเวลาต่อมา
               ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมาจึงได้ยึดอำนาจจากสุลต่าน แต่สุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกูรข่าที่อังกฤษส่งมาจากสิงคโปร์ หลังจากนั้นได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต่ออายุทุก ๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากที่อยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมาถึง 95 ปี บรูไนก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)
 การเมืองการปกครอง
 
กำลังพล
การแบ่งเขตการปกครอง
 
 
ภูมิศาสตร์
 
เศรษฐกิจ
 
อุตสาหกรรม
แนวโน้มการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
 
ศาสนา


               รัฐธรรมนูญปัจจุบันซึ่งแก้ไขล่าสุดเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 กำหนดให้สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิมนิกายสุหนี่ นอกจากนี้ บรูไนไม่มีสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชน
               นโยบายหลักของบรูไน ได้แก่การสร้างความเป็นปึกแผ่นภายในชาติ และดำรงความเป็นอิสระของประเทศ ทั้งนี้ บรูไนมีที่ตั้งที่ถูกโอบล้อมโดยมาเลเซีย และมีอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมขนาด ใหญ่อยู่ทางใต้ บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสิงคโปร์ เนื่องจากมีเงื่อนไขคล้ายคลึงกันหลายประการ อาทิ เป็นประเทศเล็ก และมีอาณาเขตติดกับประเทศมุสลิมขนาดใหญ่
               นับจากการพยายามยึดอำนาจเมื่อปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึกส่งผลให้ไม่มีการเลือกตั้ง รวมทั้งบทบาทพรรคการเมืองได้ ถูกจำกัดอย่างมาก จนปัจจุบันพรรคการเมือง ได้แก่ Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei (PPKB) และ Parti Kesedaran Rakyat (PAKAR) ไม่มีบทบาทมากนัก เนื่องจากรัฐบาลควบคุมด้วยมาตรการต่าง ๆ อาทิ กฎหมายความมั่นคงภายในประเทศ (Internal Security Act (ISA)) ห้ามการชุมนุมทางการเมือง และสามารถถอดถอนการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองได้ ตลอดจนห้ามข้าราชการ (ซึ่งมีเป็นจำนวนกว่าครึ่งของประชากรบรูไนทั้งหมด) เป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นว่าพรรคการเมืองไม่มีความจำเป็น เนื่องจากประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นหรือขอความช่วยเหลือจากข้าราชการของ สุลต่านได้อยู่แล้ว
               เมื่อเดือนกันยายนพ.ศ. 2547 ได้มีการจัดการประชุมของสภาเป็นครั้งแรก ตั้งแต่บรูไนประกาศเอกราช

               กองทัพของบรูไน (Royal Brunei Armed Forces หรือ RBAF) มีกำลังพลเพียง 7,000 นาย และกำลังสำรอง 700 นาย โดยแบ่งเป็นกองทัพบก 4,900 นาย กองทัพเรือ 1,000 นาย และกองทัพอากาศ 1,100 นาย
อย่างไรก็ดี สุลต่านยังมีกองทหารกูรข่าของ พระองค์เอง เรียกว่า Gurkha Reserve Unit (GRU) จำนวน 2,500 นาย และกองทหารกูรข่าของอังกฤษ (British Gurkha) รวมกำลังพล 1,000 คน ประจำอยู่ที่เมืองเซรีอา เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัย ให้แก่บ่อน้ำมัน และกิจการผลิตน้ำมันของ Brunei Shell Petroleum โดยรัฐบาลบรูไนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
เขตการปกครองของบรูไนแบ่งเป็น 4 เขต (districts - daerah) คือ
ตูตง (อังกฤษ: Tutong) เป็นเมืองที่อยู่ระหว่างบันดาร์เสรีเบกาวันและเมืองซีเรีย การเดินทางด้วยการเช่ารถขับไปเองถูกกว่าเหมาแท็กซี่ไป สถานที่ท่องเที่ยวเป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ชายหาดนี้มีที่พักแบบรีสอร์ตคือ ปันไต ซรี กนังงัน (มาเลย์: Pantai Seri Kenangan) ชาวบรูไนเรียกชายหาดนี้ว่า ปันไตตูตง ("ปันไต" แปลว่า "ชายหาด") ชายหาดนี้ด้านหนึ่งติดมหาสมุทรอีกด้านหนึ่งติดแม่น้ำตูตง หาดตูตงเป็นหาดทรายขาวสวยกว่าทุกแห่งในบรูไนมีพระตำหนักที่ประทับ (อิสตานา พระราชวัง) ของสมาชิกในพระราชวงศ์ที่ก่อสร้างอย่างทันสมัยอยู่ด้วย
ตูตงแบ่งเป็นเขตการปกครองได้ 8 จังหวัด (mukim)
                                               - กเรียม (Keriam)
                                               - กุยดัง (Kiudang)
                                               - ลามูนิน (Lamunin)
                                               - ปกัน ตูตง (Pekan Totong)
                                               - รัมไบ (Rambai)
                                               - ตันจงมายา (Tanjong Maya)
                                               - ตลิไซ (Telisai)
                                               - อูกง (Ukong)
                               - เตมบูรง
              
               รูไนประกอบด้วย 2 ส่วนที่ไม่ติดกันคือด้านตะวันตกและตะวันออกโดยที่ประชากรร้อยละ 97 อาศัยอยู่ในส่วนด้านตะวันตก และมีประชากรเพียงประมาณ 10,000 คนที่อาศัยอยู่ในด้านตะวันออก ซึ่งมีภูเขาเป็นจำนวนมาก และเป็นที่ตั้งของเขตเตมบูรง เมืองหลัก ๆ ของบรูไนคือเมืองหลวงบันดาร์เสรีเบกาวัน เมืองท่ามูอารา และเซรีอา
               ภูมิอากาศในบรูไนเป็นภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูง และ ฝนตกมาก

               บรูไนเป็นประเทศที่ร่ำรวยไปด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้มาสู่ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง แต่รัฐบาลบรูไนก็เริ่มตระหนักว่าประเทศชาติจะพึ่งพิงรายได้จากทรัพยากรทั้ง สองอย่างเท่านี้ไม่ได้เสียแล้ว แต่ควรหันมาให้ความสนใจกับทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่ยังคงมีมากมายเช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์น้ำ และพื้นที่อันอุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเกษตร เพื่อเป็นการเร่งรัดการพัฒนารูปแบบของการลงทุน สุลตานบรูในได้ทรงตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่คือกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากร ธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ดูแลวางแผนและดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนโดยเฉพาะ โครงการอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนและเร่งรัดส่งเสริมเป็นพิเศษ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับภาคเกษตร ป่าไม้ และการประมง
               การดำเนินการช่วงแรกนั้น รัฐบาลมุ่งสนับสนุนโรงงานและอุตสาหกรรมขนาดเล็กในภูมิภาคที่สามารถป้อนผล ผลิตให้กับผู้บริโภคในท้องถิ่นก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงขยายไปสู่การผลิต เพื่อการส่งออกในระยะยาว รัฐบาลได้ตั้งความหวังว่าอุตสหกรรมเหล่านี้จะเป็นแหล่งที่เข้ามาแทนที่ อุตสาหกรรมน้ำมันที่อาจหมดไปในอนาคต โดยที่ประชาชนยังมีหลักประกันว่าจะมีงานทำ บรูไนเป็นประเทศที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากร ขณะนี้ยังมีประชากรน้อยมาก แต่บรูไนก็ไม่ได้หวังพึ่งพารายได้จากการขายน้ำมันเพียงอย่างเดียว ได้พยายามที่จะพัฒนาประเทศให้พึ่งพาตัวเองได้ อย่างไรก็ตามบรูไนเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก แต่รัฐบาลได้ให้สวัสดิการอย่างดีเลิศแก่ประชาชน อาทิ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาลฟรี การศึกษา รัฐให้เปล่าจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษานอกจากนี้ยังมีสวัสดิการแก่ข้าราชการ ของรัฐ อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ คือ น้ำมัน ส่วนพืชเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กล้วย

                บรูไนมีอุตสาหกรรมอื่น นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมันอยู่ บ้าง อาทิ การผลิตอาหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ การผลิตเสื้อผ้า เพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในยุโรป และอเมริกา ทั้งนี้ รัฐบาลบรูไน มุ่งที่จะพัฒนาอุตสาหกรรม ด้านการแปรรูปอาหารและผลิตเครื่องดื่ม เสื้อผ้า และสิ่งทอ เครื่องเรือนจากไม้ วัสดุก่อสร้างที่ไม่ใช่โลหะ การผลิตแก้วเพื่อใช้ทำกระจกรถยนต์ อย่างไรก็ดี บรูไนยังคงประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ ในการพัฒนาอุตสาหกรรม อาทิ การขาดแคลนช่างมีฝีมือ และตลาดภายในประเทศที่มีขนาดเล็ก ประกอบกับบรูไนไม่มีแรงงานในประเทศเพียงพอ และต้องอาศัยแรงงานจากต่างประเทศเป็นหลัก
               ปัจจุบัน บรูไนกำลังพยายามเปลี่ยนแปลง จากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลัก ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันสำรองที่ยืนยันแล้ว (proven reserve) ของบรูไนจะหมดลงในราวปี พ.ศ. 2558 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเอเชีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ทำให้บรูไนเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ ได้แก่
               1. จัดตั้งสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ นำโดยเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบรูไน) ซึ่งมีแนวทางส่งเสริมภาคเอกชน ให้มีบทบาทมากขึ้น ในการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
               2. ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่เน้นนโยบายให้สวัสดิการ มาเป็นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ขยายฐานการจัดเก็บภาษี
               3. ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศของ BIA โดยหันมาลงทุนในธุรกิจด้านใหม่ ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ เช่น การซื้อหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและโทคมนาคม หรือธุรกิจสายการบินต่าง ๆ
               4. แผนพัฒนาแห่งชาติฉบับที่ 8 (The Eighth National Development Plan: 8th NDP) ที่ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2544-2548 มีสาระสำคัญ ได้แก่ ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี - GDP) ที่ร้อยละ 5–6 โดยตั้งวงเงินงบประมาณ สำหรับการดำเนินตามแผนฯ ไว้ 7.3 พันล้านดอลลาร์บรูไน ซึ่งคาดว่ากลยุทธ์ทางการพัฒนาใหม่นี้ จะช่วยให้รัฐบาลสร้างสมดุลของงบประมาณได้ดีขึ้น สามารถกำหนดมาตรการในการพัฒนา และฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สร้างความแข็งแกร่งและการขยายตัวให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งอุตสาหกรรมขนาดเล็กและย่อม การขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจบางกิจการ และสร้างความแข็งแกร่งในระบบการเงินและการคลัง นอกจากนี้ รัฐบาลบรูไนยังยึดแนวคิดของวิธีการปกครองที่ดี (Good Governance) รวมทั้งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคเอกชน
               5. ส่งเสริมการลงทุนกับต่างประเทศ และมีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้า และสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ไม่เฉพาะแต่บริษัทในประเทศ แต่รวมถึงประเทศต่าง ๆ จากกลุ่มอาเซียน และนานาประเทศ
               6. พัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์บริการการค้าและการท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism -SHuTT 2003 Vision) และเป็นตลาดการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเป้าหมายประการหนึ่งของโครงการความร่วมมือของกลุ่ม Brunei Indonesia Malaysia Philippines-East ASEAN Growth Area (BIMP-EAGA)
               7. สร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเอื้ออำนวยต่อโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสาธารณูปโภค พื้นฐาน นอกจากนี้ จากการที่บรูไนได้กำหนดแผนพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการเงินนานาชาติ (Brunei International Financial Center : BIFC) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับประเทศ ในด้านการบริการการเงินในระดับนานาชาติ กระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และสร้างงานให้กับประชาชน

   ส่วนใหญ่ชาวบรูไนนับศาสนาอิสลามนิกายซุนนี่ 67% รองลงมาเป็นศาสนาพุทธนิกายมหายาน 13% ศาสนาคริสต์ 10% ศาสนาฮินดู ความเชื่อพื้นเมืองและอื่นๆตามมา

อ้างอิง

                ประเทศบรูไน - วิกิพีเดีย. เข้าถึงได้จากth.wikipedia.org/wiki/ประเทศบรูไน. สืบค้นเมื่อ วันที่ 18                                กรกฎาคม 2556.



วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์บรูไน


ประวัติศาสตร์บรูไน



 

บรูไน (มาเลย์Brunei) หรือ เนการาบรูไนดารุสซาลาม (มาเลย์Negara Brunei Darussalam) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวัก มาเลเซียตะวันออกบรูไนเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลัก (ปริมาณการผลิตน้ำมันประมาณ 180,000 บาเรล/วัน)


            บรูไนเป็นที่รู้จักและมีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ การบูรพริกไทย และทองคำหลังจากนั้นบรูไนเสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากสเปน และฮอลันดาได้แผ่อำนาจเข้ามา
จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยอมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ
ในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) บรูไนสำรวจพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนมีฐานะมั่งคั่งในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมาจึงได้ยึดอำนาจจากสุลต่าน แต่สุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกูรข่าที่อังกฤษส่งมาจากสิงคโปร์ หลังจากนั้นได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต่ออายุทุก ๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากที่อยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมาถึง 95 ปี บรูไนก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)

การเมืองการปกครอง


 รัฐธรรมนูญปัจจุบันซึ่งแก้ไขล่าสุดเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 กำหนดให้สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุขนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิมนิกายสุหนี่ นอกจากนี้ บรูไนไม่มีสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชน
นโยบายหลักของบรูไน ได้แก่การสร้างความเป็นปึกแผ่นภายในชาติ และดำรงความเป็นอิสระของประเทศ ทั้งนี้ บรูไนมีที่ตั้งที่ถูกโอบล้อมโดยมาเลเซีย และมีอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมขนาดใหญ่อยู่ทางใต้ บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสิงคโปร์ เนื่องจากมีเงื่อนไขคล้ายคลึงกันหลายประการ อาทิ เป็นประเทศเล็ก และมีอาณาเขตติดกับประเทศมุสลิมขนาดใหญ่
นับจากการพยายามยึดอำนาจเมื่อปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึกส่งผลให้ไม่มีการเลือกตั้ง รวมทั้งบทบาทพรรคการเมืองได้ถูกจำกัดอย่างมาก จนปัจจุบันพรรคการเมือง ได้แก่ Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei (PPKB) และ Parti Kesedaran Rakyat (PAKAR) ไม่มีบทบาทมากนัก เนื่องจากรัฐบาลควบคุมด้วยมาตรการต่าง ๆ อาทิ กฎหมายความมั่นคงภายในประเทศ (Internal Security Act (ISA)) ห้ามการชุมนุมทางการเมือง และสามารถถอดถอนการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองได้ ตลอดจนห้ามข้าราชการ (ซึ่งมีเป็นจำนวนกว่าครึ่งของประชากรบรูไนทั้งหมด) เป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นว่าพรรคการเมืองไม่มีความจำเป็น เนื่องจากประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นหรือขอความช่วยเหลือจากข้าราชการของสุลต่านได้อยู่แล้ว
เมื่อเดือนกันยายนพ.ศ. 2547 ได้มีการจัดการประชุมของสภาเป็นครั้งแรก ตั้งแต่บรูไนประกาศเอกราช

การแบ่งเขตการปกครอง

เขตการปกครองของบรูไนแบ่งเป็น 4 เขต (districts - daerah) คือ



ภูมิศาสตร์

บรูไนประกอบด้วย 2 ส่วนที่ไม่ติดกันคือด้านตะวันตกและตะวันออกโดยที่ประชากรร้อยละ 97 อาศัยอยู่ในส่วนด้านตะวันตก และมีประชากรเพียงประมาณ 10,000 คนที่อาศัยอยู่ในด้านตะวันออก ซึ่งมีภูเขาเป็นจำนวนมาก และเป็นที่ตั้งของเขตเตมบูรง เมืองหลัก ๆ ของบรูไนคือเมืองหลวงบันดาร์เสรีเบกาวัน เมืองท่ามูอารา และเซรีอา
ภูมิอากาศในบรูไนเป็นภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูง และ ฝนตกมาก

เศรษฐกิจ

บรูไนเป็นประเทศที่ร่ำรวยไปด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้มาสู่ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง แต่รัฐบาลบรูไนก็เริ่มตระหนักว่าประเทศชาติจะพึ่งพิงรายได้จากทรัพยากรทั้งสองอย่างเท่านี้ไม่ได้เสียแล้ว แต่ควรหันมาให้ความสนใจกับทรัพยากรธรรมชาติอี่น ๆ ที่ยังคงมีมากมายเช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์น้ำ และพื้นที่อันอุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเกษตร เพื่อเป็นการเร่งรัดการพัฒนารูปแบบของการลงทุน สุลตานบรูในได้ทรงตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่คือกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ดูแลวางแผนและดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนโดยเฉพาะ โครงการอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนและเร่งรัดส่งเสริมเป็นพิเศษ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับภาคเกษตร ป่าไม้ และการประมง

การดำเนินการช่วงแรกนั้น รัฐบาลมุ่งสนับสนุนโรงงานและอุตสาหกรรมขนาดเล็กในภูมิภาคที่สามารถป้อนผลผลิตให้กับผู้บริโภคในท้องถิ่นก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงขยายไปสู่การผลิตเพื่อการส่งออกในระยะยาว รัฐบาลได้ตั้ง่ความหวังว่าอุตสหกรรมเหล่านี้จะเป็นแหล่งที่เข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมน้ำมันที่อาจหมดไปในอนาคต โดยที่ประชาชนยังมีหลักประกันว่าจะมีงานทำ บรูไนเป็นประเทศที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากร ขณะนี้ยังมีประชากรน้อยมาก แต่บรูไนก็ไม่ได้หวังพึ่งพารายได้จากการขายน้ำมันเพียงอย่างเดียว ได้พยายามที่จะพัฒนาประเทศให้พึ่งพาตัวเองได้ อย่างไรก็ตามบรูไนเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก แต่รัฐบาลได้ให้สวัสดิการอย่างดีเลิศแก่ประชาชน อาทิ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาลฟรี การศึกษา รัฐให้เปล่าจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษานอกจากนี้ยังมีสวัสดิการแก่ข้าราชการของรัฐ อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ คือ น้ำมัน ส่วนพืชเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กล้วย

อุตสาหกรรม

บรูไนมีอุตสาหกรรมอื่น นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมันอยู่บ้าง อาทิ การผลิตอาหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ การผลิตเสื้อผ้า เพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในยุโรป และอเมริกา ทั้งนี้ รัฐบาลบรูไน มุ่งที่จะพัฒนาอุตสาหกรรม ด้านการแปรรูปอาหารและผลิตเครื่องดื่ม เสื้อผ้า และสิ่งทอ เครื่องเรือนจากไม้ วัสดุก่อสร้างที่ไม่ใช่โลหะ การผลิตแก้วเพื่อใช้ทำกระจกรถยนต์ อย่างไรก็ดี บรูไนยังคงประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ ในการพัฒนาอุตสาหกรรม อาทิ การขาดแคลนช่างฝีมือ และตลาดภายในประเทศที่มีขนาดเล็ก ประกอบกับบรูไนไม่มีแรงงานในประเทศเพียงพอ และต้องอาศัยแรงงานจากต่างประเทศเป็นหลัก

แนวโน้มการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ปัจจุบัน บรูไนกำลังพยายามเปลี่ยนแปลง จากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลัก ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันสำรองที่ยืนยันแล้ว (proven reserve) ของบรูไนจะหมดลงในราวปี พ.ศ. 2558 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเอเชีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ทำให้บรูไนเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ ได้แก่

  1. จัดตั้งสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ นำโดยเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบรูไน) ซึ่งมีแนวทางส่งเสริมภาคเอกชน ให้มีบทบาทมากขึ้น ในการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
  2. ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่เน้นนโยบายให้สวัสดิการ มาเป็นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ขยายฐานการจัดเก็บภาษี
  3. ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศของ BIA โดยหันมาลงทุนในธุรกิจด้านใหม่ ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ เช่น การซื้อหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและโทคมนาคม หรือธุรกิจสายการบินต่าง ๆ
  4. แผนพัฒนาแห่งชาติฉบับที่ 8 (The Eighth National Development Plan: 8th NDP) ที่ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2544-2548 มีสาระสำคัญ ได้แก่ ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี - GDP) ที่ร้อยละ 5–6 โดยตั้งวงเงินงบประมาณ สำหรับการดำเนินตามแผนฯ ไว้ 7.3 พันล้านดอลลาร์บรูไน ซึ่งคาดว่ากลยุทธ์ทางการพัฒนาใหม่นี้ จะช่วยให้รัฐบาลสร้างสมดุลของงบประมาณได้ดีขึ้น สามารถกำหนดมาตรการในการพัฒนา และฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สร้างความแข็งแกร่งและการขยายตัวให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งอุตสาหกรรมขนาดเล็กและย่อม การขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจบางกิจการ และสร้างความแข็งแกร่งในระบบการเงินและการคลัง นอกจากนี้ รัฐบาลบรูไนยังยึดแนวคิดของวิธีการปกครองที่ดี (Good Governance) รวมทั้งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคเอกชน
  5. ส่งเสริมการลงทุนกับต่างประเทศ และมีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้า และสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ไม่เฉพาะแต่บริษัทในประเทศ แต่รวมถึงประเทศต่าง ๆ จากกลุ่มอาเซียน และนานาประเทศ
  6. พัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์บริการการค้าและการท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism -SHuTT 2003 Vision) และเป็นตลาดการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเป้าหมายประการหนึ่งของโครงการความร่วมมือของกลุ่ม Brunei Indonesia Malaysia Philippines-East ASEAN Growth Area (BIMP-EAGA)
  7. สร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเอื้ออำนวยต่อโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคพื้นฐาน นอกจากนี้ จากการที่บรูไนได้กำหนดแผนพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการเงินนานาชาติ (Brunei International Financial Center : BIFC) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับประเทศ ในด้านการบริการการเงินในระดับนานาชาติ กระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และสร้างงานให้กับประชาชน

ศาสนา

ส่วนใหญ่ชาวบรูไนนับศาสนาอิสลามนิกายซุนนี่ 67% รองลงมาเป็นศาสนาพุทธนิกายมหายาน 13% ศาสนาคริสต์ 10% ศาสนาฮินดู ความเชื่อพื้นเมืองและอื่นๆตามมา

การปฏิวัติบรูไน


การปฏิวัติบรูไน พ.ศ. 2505 (Brunei Revolt) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ในขณะที่รัฐสุลต่านบรูไนยังอยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษ สมาชิกพรรคประชาชนบรูไนซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในบรูไน มีเอ เอ็ม อาซาฮารีเป็นหัวหน้าพรรค พรรคนี้ได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้งเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2505 โดยมีนโยบายต่อต้านการรวมบรูไนเข้ากับมาเลเซีย
อาซาฮารีได้เรียกร้องให้มีการตั้งรัฐบอร์เนียวเหนือโดยรวมบรูไน ซาราวักและซาบาห์เข้าด้วยกัน แต่เมื่อสภานิติบัญญัติไม่จัดการประชุมตามที่พรรคเรียกร้อง กองทัพแห่งชาติบอร์เนียวเหนือซึ่งเป็นกองทัพใต้ดินที่พรรคประชาชนบรูไนก่อตั้งขึ้นจึงลุกฮือขึ้นก่อกบฏ สุลต่านได้ขอความช่วยเหลือไปยังอังกฤษ อังกฤษจึงส่งกองทหารจากสิงคโปร์มาปราบกบฏได้สำเร็จ
หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ อินโดนีเซียได้ใช้เป็นข้ออ้างในการดำเนินนโยบายเผชิญหน้ากับมาเลเซีย และทำให้สุลต่านเซอร์โอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน ตัดสินใจไม่เข้าร่วมกับสหพันธรัฐมาเลเซียในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2506

จักรวรรดิบรูไน

จักรวรรดิบรูไน (อังกฤษBruneian Empire) จัดตั้งขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12 บนเกาะบอร์เนียว ในยุคแรกปกครองโดยกษัตริย์ที่นับถือศาสนาฮินดู ก่อนจะเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งได้รับอิทธิพลทั้งจากมุสลิมอินเดียและชาวอาหรับที่เข้ามาค้าขาย ไม่มีหลักฐานในท้องถิ่นที่จะยืนยันการมีอยู่ แต่ในเอกสารจีนได้อ้างถึงบรูไนในยุคเริ่มแรก โบนี (Boni) ในภาษาจีนอ้างถึงดินแดนเกาะบอร์เนียว ในขณะที่ โปลี (Poli 婆利) ที่อาจจะตั้งอยู่ที่เกาะสุมาตรา มักจะถูกกล่าวว่าหมายถึงบรูไนด้วย หลักฐานเก่าสุดที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบอร์เนียว (โบนี 渤泥) และจีนบีนทึกไว้ใน (Taiping huanyuji 太平環宇記)
ในสมัยของสุลต่านโบลเกียห์ ซึ่งเป็นสุลต่านองค์ที่ 5 ของบรูไน บรูไนมีอำนาจครอบคลุมเกาะบอร์เนียวทั้งหมด และบางส่วนของฟิลิปปินส์ เช่น เกาะมินดาเนา ซึ่งถือเป็นยุคทองของบรูไน กองทัพบรูไนมีกองทัพเรือที่แข็งแกร่ง บางส่วนเป็นโจรสลัดในทะเลจีนใต้ และชายฝั่งของเกาะบอร์เนียว หลักฐานทางตะวันตกชิ้นแรกที่กล่าวถึงบรูไนคืองานเขียนของชาวอิตาลี ลูโดวิโก ดี วาร์เทมา ผู้เดินทางมายังหมู่เกาะโมลุกกะและแวะพักที่เกาะบอร์เนียวเมื่อราว พ.ศ. 2093

บรูไนเป็นที่รู้จักและมีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16โดยมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ การบูร พริกไทย และทองคำ  หลังจากนั้นบรูไนเสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากสเปน และฮอลันดาได้แผ่อำนาจเข้ามา
        จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888 ) ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยอมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1981) บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ
       ในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929 ) บรูไนสำรวจพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนมีฐานะมั่งคั่งในเวลาต่อมา
        ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมาจึงได้ยึดอำนาจจากสุลต่าน แต่สุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกรูข่าที่อังกฤษส่งมาจากสิงคโปร์ หลังจากนั้นได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต่ออายุทุก ๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
       หลังจากที่อยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมาถึง 95 ปี บรูไนก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)

บรรณนุกรม